วันศุกร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2554

ทักษะการใช้กระดานดำ

สมาชิกในกลุ่ม


1.นางสาวโสรยา   จันทร์น้อย
รหัสนักศึกษา  51125260110
สาขาวิชา  คอมพิวเตอร์ศึกษา



2.นางสาวปริศนา   แก้วคำ
รหัสนักศึกษา  51125260204
สาขาวิชา  คอมพิวเตอร์ศึกษา



3.นางสาวศศิวิมล   ตระกูลมาภรณ์
รหัสนักศึกษา  51125260222
สาขาวิชา  คอมพิวเตอร์ศึกษา



4.นางสาวเสาวลักษณ์  ผลหาญ
รหัสนักศึกษา  51125260223
สาขาวิชา  คอมพิวเตอร์ศึกษา



5.นางสาวพรสุดา   จูกระจ่าง
รหัสนักศึกษา  51125260224
สาขาวิชา  คอมพิวเตอร์ศึกษา



6.นางสาวณัฐธิดา   ภู่ทองคำ
รหัสนักศึกษา  51125260225
สาขาวิชา  คอมพิวเตอร์ศึกษา


เนื้อหาทักษะการใช้กระดานดำ


ทักษะการใช้กระดานดำ

ความสำคัญของการใช้กระดานดำ
        กระดานดำเป็นอุปกรณ์การสอนที่คุ้นกับครูและนักเรียนมาก  จนแทบจะเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของห้องเรียน  เป็นอุปกรณ์การสอนที่หาได้ง่าย  มีอยู่แล้วประจำทุกห้องเรียน   นอกจากนั้นยังเป็นจุดรวมความสนใจของนักเรียนทั้งชั้น  เป็นที่สำหรับจดบันทึกข้อความสำคัญของการเรียนและแนวความคิดทั้งของครูและนักเรียนเอาไว้  กระดานดำมีประโยชน์อย่างกว้างขวางในการเรียนการสอน  กล่าวคือใช้เป็นอุปกรณ์ได้ทุกขั้นตอนของการสอนเพียงแต่ครูรู้จักใช้ให้เหมาะสม
การใช้กระดานดำประกอบการสอน
      ได้กล่าวมาแล้วว่ากระดานดำเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ได้ทุกขั้นตอนของการสอนตั้งแต่การนำเข้าสู่บทเรียน  การสอนและการสรุปบทเรียน  และมิใช่เพียงแต่ใช้เขียนหนังสือเท่านั้นครูยังมีวิธีอื่นๆ ที่จะช่วยให้การเขียนกระดานดำน่าสนใจยิ่งขึ้น  เช่น
          1.การเขียนการ์ตูนลายเส้นอย่างง่าย  เป็นวิธีเขียนการ์ตูนง่ายๆ แต่สื่อความหมายได้ดี
          2.การใช้ร่างแบบเจาะ  การใช้รูปแบบนี้เป็นวิธีช่วยให้การวาดรูปรวดเร็วขึ้นและคล้ายคลึงกับภาพตัวจริงมากที่สุด
          3.การใช้ผ้าม่านหรือกระดาษปิดรูปหรือข้อความไว้ก่อน  เมื่อจะดูส่วนใดจึงรูดม่านหรือดึงกระดาษส่วนนั้นออก  ซึ่งจะเป็นวิธีที่ช่วยสร้างความอยากรู้อยากเห็นให้กับเด็ก
ประเภทของกระดานดำ
            1.แบบติดตั้งถาวร
          2.แบบตั้งบนขาหยั่งเคลื่อนที่ได้
          3.แบบม้วนได้
หลักทั่วๆ ไปในการเขียนกระดานดำ
       ก่อนที่ครูจะใช้กระดานดำ  สิ่งแรกที่ควรคำนึงถึงก็คือความสะอาด เพราะ ความสะอาดของกระดานดำ  จะช่วยให้การเขียนหนังสือชัดเจนและน่าอ่านขึ้น  ส่วนวิธีเขียนนั้นโดยปกติครูมักจะเขียนหัวข้อเรื่องไว้กลางกระดานดำและเริ่มเขียนเนื้อเรื่องจากซ้ายไปขวา  แต่เนื่องจากกระดานดำในห้องเรียนมักจะมีความยาวประมาณ 1.5-2 เมตร  จึงไม่สะดวกที่จะเขียนทีเดียวตลอดทั้งแผ่น  ครูควรจะแบ่งกระดานดำออกเป็น 2 หรือ 3 ส่วน แล้วแต่ความเหมาะสม  ในขณะที่เขียนกระดานดำครูต้องคำนึงถึงเสมอว่า  การเขียนกระดานดำเป็นการประเมินข้อความสำคัญในการเรียนการสอนแต่ละครั้งเอาไว้  ดังนั้นครูจะต้องระวังในเรื่องความมีระเบียบในการเขียนอันได้แก่  การเรียงลำดับข้อความ  การเน้นจุดสำคัญ  นอกจากนั้นการเขียนตัวหนังสือของครูจะต้องถูกต้องตามอักขรวิธีและการสะกด  เขียนอ่านง่ายมีระเบียบอยู่ในแนวระดับ  เห็นชัดทั่วทั้งห้อง  เขียนได้รวดเร็วและมีจังหวะของการใช้กระดานดำที่เหมาะสม
ประโยชน์ของกระดานดำกระดานดำมีประโยชน์ดังนี้
            1. ใช้ประกอบการสอน การอธิบาย การทดสอบ สรุป และทบทวนบทเรียน
            2. ใช้ร่วมกับโสตทัศนวัสดุอื่นๆ ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น
            3. ใช้แสดงข้อเท็จจริง แนวคิด และกระบวนการต่างๆ
            4. ใช้แสดงศัพท์ใหม่ๆ คำจำกัดความ กฎ และคำนิยามให้ผู้เรียนเข้าใจได้ดี
            5. เหมาะต่อการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ร่วมกิจกรรมในการสาธิตและอธิบาย เนื้อหาวิชาแก่เพื่อนร่วมชั้น
ข้อดีของกระดานดำ
            1.ใช้ ได้ทุกเวลาและโอกาส ใช้ได้กับทุกขั้นตอนของการเรียนการสอน ตั้งแต่การนำเข้าสู่บทเรียน ใช้ประกอบการอธิบาย นอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นที่แสดงผลงานของนักเรียน ใช้เป็นจุดรวมความสนใจของนักเรียน ใช้เขียนคำสั่งมอบหมายงาน เฉลยการบ้าน ติดตั้งจอฉาย แขวนป้ายนิเทศ แขวนแผนที่ได้เป็นอย่างดี
            2.ใช้เสนอหลักการ ข้อเท็จจริง ความคิด กระบวนการ จากสิ่งที่ง่ายไปสู่สิ่งที่สลับซับซ้อนเพื่อให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์ตาม
            3.ใช้เป็นที่วางแผนการเรียนการสอนร่วมกันระหว่างครูและนักเรียน
            4.สามารถเขียนและลบได้ง่าย ถึงแม้ว่าจะเขียนทิ้งไว้นานก็สามารถลบได้ง่าย
            5.ผู้เรียนสามารถมองเห็นได้พร้อมกันทั้งชั้น
            6.เสนอเรื่องราวหรือเนื้อหาได้ทันทีทันใด
            7.ใช้ได้คงทนถาวร เสียหายได้ยาก
            8.ใช้ได้ทั้งครูและนักเรียน
            9.ประหยัดค่าใช้จ่าย
           10.ใช้ประกอบกับสื่ออื่นๆ ได้เป็นอย่างดี
           11.ใช้สำหรับเขียนภาพประกอบการอธิบาย และใช้เป็นที่แสดงสัญลักษณ์
           12.ถ้าเป็นกระดานชอล์คแบบม้วนครูสามารถเตรียมการเขียนมาก่อนได้ เช่น ภาพที่วาดยากหรือไม่สามารถวาดเองได้
           13.ไม่เปลืองไฟฟ้า
ข้อเสียของกระดานดำ
            1.มีฝุ่นละอองจากผงชอล์ค ซึ่งทำให้เกิดความสกปรก และเป็นอันตรายกับผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้
            2.ไม่เหมาะกับการใช้งานในห้องปรับอากาศ
            3.ชอล์คและแปรงลบกระดานอาจถูกแปลงเป็นอาวุธของครูได้
            4.ผู้สอนต้องหันหลังให้ผู้เรียนในบางครั้ง
            5.ผู้สอนต้องเขียนเนื้อหาใหม่ทุกครั้งที่สอน
            6.เคลื่อนย้ายลำบาก
            7.ผู้ที่ลายมือไม่สวย อาจไม่เหมาะสมในการใช้กระดานชอล์ค
สิ่งที่ควรพิจารณาในการใช้กระดานดำ
            -ผู้เรียนทุกคนจะมองเห็นกระดานดำได้ชัดเจนในมุม 30 องศา
            -ผู้เรียนแถวหน้าสุดควรห่างจากกระดาน เมตร
            -สิ่งที่เขียนไม่ควรอยู่ต่ำกว่าระดับสายตาผู้เรียน
            -เตรียมวัสดุเครื่องมือให้พร้อม
            -ตรวจดูแสงสว่าง แสงสะท้อน
ข้อเสนอแนะในการเขียนกระดานดำให้ได้ผลดี
               1.ฝึกเขียนเสมอ  รวมทั้งศึกษาวิธีเขียนที่ถูกต้องและเขียนได้รวดเร็วด้วย
            2.ทดลองเขียนตัวอักษรที่มีขนาดเหมาะสมที่สุดให้นักเรียนเห็นชัดทั่วทุกคน
            3.ในขณะที่เขียนอย่าจับชอล์คให้ปลายตั้งฉากกับกระดานดำ  แท่งชอล์คควรทำมุมกับกระดานดำประมาณ 45 องศา
            4.ในกรณีที่ต้องการให้เขียนกระดานดำอยู่ในแนวตรง  เพื่อประโยชน์ในการสอนหรือในกรณีที่เป็นครูใหม่  อาจใช้เครื่องใช้บางอย่างตีเส้นกระดานดำ เช่น ตะปู เพื่อช่วยในการเขียนให้เป็นแนวตรง  เขียนได้ง่ายและมีรอยถาวร  หรือใช้เครื่องมือที่ทำจากไม้หรือทำจากกระดาษแข็งติดกระดาษกาว
            5.ในกรณีที่ต้องการเน้นคำข้อความสำคัญหรือภาพอาจมีวิธี  เช่น  การเขียนตัวอักษรที่มีขนาดใหญ่กว่าข้อความอื่น  การขีดเส้นใต้  การวงกลมล้อมรอบหรือการใช้ชอล์คสีก็ได้
            6.ชอล์คบางสีไม่เหมาะที่จะใช้เขียนหนังสือบนกระดานที่ทาสีเขียว  เช่น  ชอล์คสีน้ำเงิน  ชอล์คสีเขียว  เพราะ  เมื่อเขียนแล้วจะมีสีกลมกลืนกับสีของกระดานมาก
            7.ในกรณีที่ต้องใช้เครื่องมือเขียนรูปทรงเรขาคณิตต่างๆ ควรเตรียมเครื่องมือไว้ให้พร้อมและต้องเขียนด้วยเครื่องมือเหล่านั้น  เพื่อแสดงให้นักเรียนดูได้ด้วยความประณีตเรียบร้อยและชัดเจน
            8.ในการใช้กระดานดำต่อเนื่องกัน  หากจะใช้ในเรื่องใหม่ควรลบข้อความเก่าออกเสียก่อน  เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนและทำให้อ่านข้อความใหม่ได้ชัดเจน
            9.ในขณะอธิบายประกอบข้อความบนกระดานดำ  ครูควรยืนชิดไปทางด้านใดด้านหนึ่งของกระดานดำและใช้ไม้ชี้ไม่ควรใช้มือชี้  และไม่ควรหันหลังให้นักเรียนขณะอธิบายประกอบ
            10.ควรให้นักเรียนมีส่วนร่วมใช้กระดานดำด้วย  เพื่อนักเรียนจะได้มีการแสดงออกและเปลี่ยนอิริยาบถจากการนั่งฟังครูนานๆ เช่น การฝึกสะกดคำในภาษาไทย  การทำเลขคณิตและการทำแบบฝึกหัดเติมคำในวิชาสังคมศึกษา  เป็นต้น

แหล่งอ้างอิง
ทักษะการใช้กระดานดำ.
 (2553พฤศจิกายน 27). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก:

http://kanchit004.wordpress.com/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1-2/%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B3/
ชาญชัย ศรีไสยเพชร. (2527). ทักษะและเทคนิคการสอน. กรุงเทพฯ: พิทักษ์อักษร.
จินตนา สุขมาก. (ม.ป.ป.). หลักการสอน. (ม.ป.ท.).
จำเนียร ศิลปวานิช. (2538). หลักและวิธีการสอน. นนทบุรี: เจริญรุ่งเรืองการพิมพ์.
ประเภทของทักษะกระดานดำ. (2553ธันวาคม 3). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก:
http://www.kmitl.ac.th/agedu/information%20of%20e-learning/Micro-teaching/Blackboard%20and%20chalk.ppt.
ประเภทของกระดานดำ. (2553ธันวาคม 3). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก:
 http://www.kroobannok.com/blog/6131.


วิดีโอสาธิตการสอนทักษะการใช้กระดานดำ